วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะทางพฤษศาสตร์


ดอกมะลิ





        ลักษณะทางพฤษศาสตร์

มะลิมีทั้งชนิดไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใบที่ลำต้นตั้งตรงหรือกางออก หรือเป็นไม้พุ่มและไม้เถา ใบเรียงใบแบบตรงข้ามหรือเรียงใบแบบสลับ สามารถเป็นใบเดี่ยว มีสามใบ หรือเป็นแบบขนนก ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2.5 ซม (0.98 นิ้ว) มีสีขาวหรือเหลือง บางชนิดมีสีแดงเรื่อ ดอกแบบช่อกระจุก หนึ่งกระจุกมีอย่างน้อยสามดอก บางชนิดเป็นดอกเดี่ยวที่ปลายแขนง แต่ละดอกมี 4 - 9 กลีบดอก มี 2 ช่อง และ 1 - 4 ออวุล มันมีเกสรเพศผู้ที่มีก้านชูอับเรณูสั้นๆ 2 เกสร ใบประดับรูปแถบหรือรูปไข่ วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง ดอกมีกลิ่นหอม ผลแบบเบอร์รี เปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อสุก


วิธีการปลูกต้นมะลิ

การปลูกต้นมะลิในกระถาง

          การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8 - 14 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 :1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและ เพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

การปลูกต้นมะลิลงดินในแปลงปลูก

          การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก

 การดูแลรักษาต้นมะลิ

            แสงแดด  : ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

            การให้น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้ง

            ดิน : ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี

            การใส่ปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5 - 1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 200 - 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง

            การตัดแต่ง : ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งรวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งตายออกด้วย เพื่อลดโรคและแมลง

            การเก็บเกี่ยว : เก็บดอกตูมที่โตเต็มที่ สีขาวนวล วิธีเก็บให้ใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง ควรเก็บดอกเวลาเช้ามืด 03.00 - 04.00 น.

 ความหมายของดอกมะลิ


ดอกมะลิเป็นต้นไม้มงคลมาตั้งแต่โบราณ  เป็นดอกไม้ประจำองค์พระนารายณ์ นิยมใช้ดอกมะลิเป็นเครื่องสักการบูชาพระ และด้วยกลิ่นหอมเย็นของดอก และสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ จึงเชื่อกันว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศตะวันตกเฉลียงเหนือของบ้าน จะช่วยให้คนในบ้านได้รับความปรารถนาดี เป็นที่รัก ที่คิดถึงของคนทั่วไป และทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ รู้จักกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ นอกจากนี้มิลิยังถือเป็นดอกไม้ประจันแม่แห่งชาติอีกด้วย


             ขณะที่คุณสมบัติเด่นของดอกมะลินั้น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย และแถบอาหรับ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นเล็กกลมสูงประมาณ 2 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวแตกสะเก็ตเล็กน้อย แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น กิ่งอ่อนมีขนสั้นๆ สีขาว ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันรูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเดี่ยว หรือออกเป็นช่อตามซอกใบ และปลายกิ่ง สีขาวสะอาด มีกลิ่นหอมเย็น แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอด สีเขียวอมเหลืองอ่อนๆ ปลายแยกเป็นเส้น 8-10 เส้น กลีบดอกสีขาวมี 6-10 กลีบ เรียงเป็นวงกลม หรือซ้อนกันเป็นชั้นแตกต่างตามสายพันธ์ของมะลิ ซึ่งมีทั้งดอกลา และดอกซ้อน


 

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

มะลิมีถิ่งกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในพื้นที่, ทวีปแอฟริกา, และออสตราเลเซี มีประมาณ 200 ชนิด มีเพียงชนิดเดียวที่มีถิ่นกำเนิดในยุโรปมีศูนย์กลางความหลากหลายในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แม้ว่าจะไม่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป มะลิหลายชนิดได้ปรับตัวกลายเป็นพืชพื้นถิ่นในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เช่น มะลิสเปน (Jasminum grandiflorum) ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอิหร่านและทางตะวันตกของเอเชียใต้ และปัจจุบันได้กลายเป็นพืชท้องถิ่นในคาบสมุทรไอบีเรีย

ประโยชน์ของดอกมะลิ

ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย นอกจากการใช้ประโยชน์จากดอกมะลิแล้ว ส่วนต่าง ๆ
ของมะลิก็ยังนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้ เช่นดอกสด ดอกแห้ง ใบสด ต้น ราก

ดอกมะลิ มีหลายชนิดหลายพันธุ์ เท่าที่ คุ้นๆ ชื่อกัน ก็มีทั้ง ดอกมะลิซ้อน มะลิลา มะลิวัลย์ ฯลฯ
มะลิซ้อนมะลิลาเป็นไม้พุ่มมีสูงประมาณ1.5เมตรมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกันบางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อยใบเป็นแบบใบ
เดี่ยวออกตรงข้ามสีเขียวอมเหลืองสัณฐานของใบเป็นรูปไข่ปลายใบแหลมดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกลาออก
เป็นช่อเล็ก ๆ ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน กลีบดอกจะบานก่อน
กลีบดอกสีขาวโคนดอกติดกันเป็นหลอดสีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอมชื่นใจและค่อนข้างจัด เกสรตัวผู้มี 2 อัน
ออกเอกมากในฤดูร้อนและฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำและการตอน
มะลินอกจากจะเก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยแล้ว
ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่นมะลิซ้อน

ดอกสด     - ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด
ดอกแห้ง   - ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น
ใบสด        - นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ
ต้น            - ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและโลหิต
ราก           -นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง
อ้างอิง

http://www.oknation.net/blog/banandsuan/2013/01/13/entry-1










2 ความคิดเห็น:

  1. น่ารักๆๆ พื้นหลังดูสดใสดี ใสๆเหมือนเจ้าของเรยยยยย.....อิอิ

    ตอบลบ
  2. นิดหน่อยจร้าาา...ิอิอิอิ

    ตอบลบ